เข้าใจคาปาซิทีฟพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์
คาปาซิทีฟพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Capacitive Proximity sensor) คืออะไร?
เรามาทำความ เข้าใจคาปาซิทีฟพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ (Capacitive Proximity Sensors) ซึ่งมีหน้าที่ตรวจจับ การเปลี่ยนแปลงของความจุไฟฟ้า (capacitance) ระหว่างวัตถุที่ตรวจจับ และ ตัวเซ็นเซอร์ ตรงตามชื่อที่เรียก ซึ่งปริมาณความจุไฟฟ้า (capacitance) จะแตกต่างกันไปตามขนาด และระยะทางของวัตถุที่ตรวจจับ

คาปาซิทีฟพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ทำงานอย่างไร?
พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบบคาปาซิทีฟ ประกอบด้วย ออสซิลเลเตอร์ความถี่สูง พร้อมกับพื้นผิวการตรวจจับที่เกิดจากอิเล็กโทรดโลหะสองอัน เมื่อวัตถุเข้ามาใกล้พื้นผิวการตรวจจับ วัตถุนั้นจะเข้าสู่สนามไฟฟ้าสถิตของอิเล็กโทรด และเปลี่ยนความจุของออสซิลเลเตอร์

เป็นผลให้วงจรออสซิลเลเตอร์เริ่มสั่น และเปลี่ยนสถานะเอาต์พุตของเซนเซอร์เมื่อถึงแอมพลิจูดที่กำหนด และเมื่อวัตถุเคลื่อนออกจากเซ็นเซอร์ แอมพลิจูดของออสซิลเลเตอร์จะลดลง โดยเปลี่ยนเซ็นเซอร์กลับไปเป็นสถานะเริ่มต้นปกติ
ระยะการตรวจจับทั่วไปสำหรับเซ็นเซอร์แบบคาปาซิทีฟมีตั้งแต่ สองสามมิลลิเมตร จนถึง ประมาณ 1 นิ้ว (หรือ 25 มม.) เซ็นเซอร์แบบคาปาซิทีฟนั้นทำงานได้ดีมาก สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานที่ต้องตรวจจับวัสดุบางชนิด เช่น พลาสติก หรือกล่อง โดยสามารถปรับความไวของตัวเซนเซอร์ (sensitivity adjustment) ตั้งค่าเพื่อตรวจจับของเหลวหรือวัสดุที่เป็นของแข็งในระดับต่างๆกันได้

คาปาซิทีฟพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์แบบจะตรวจจับวัตถุที่มีค่าคงที่ไดอิเล็กตริกที่สูงได้ดีกว่า ดังนั้นจึงทำให้สามารถตรวจจับวัสดุภายในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะได้ เช่นตรวจับน้ำในขวดพลาสติก เนื่องจากของเหลวมีค่าคงที่ไดอิเล็กตริกสูงกว่าภาชนะมาก ซึ่งทำให้เซ็นเซอร์สามารถมองทะลุภาชนะและตรวจจับเฉพาะของเหลวได้โดยไม่ตรวจจับขวดน้ำ
