การตรวจจับวัตถุด้วยเทคโนโลยี Time-of-Flight (ToF)

คุณอาจไม่ทราบเรื่องนี้ แต่คุณอาจเคยพบเทคโนโลยีที่ทำงานบนหลักการเวลาของการเคลื่อนที่ (ToF)  ซึ่งมีใช้ในทางการแพทย์ เช่น สำหรับการสแกน MRA , อุตสาหกรรมยานยนต์ สำหรับระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง และ แม้แต่ในกล้องสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดบางรุ่น! ใช้เทคโนโลยีนี้ในการตรวจวัดระยะคนหรือวัตถุ เพื่อหาระยะโฟกัสของกล้อง นี่เป็นครั้งแรกที่คุณได้ยินเกี่ยวกับ การตรวจจับวัตถุด้วยเทคโนโลยี Time-of-Flight ใช่หรือไม่ อ่านต่อไปเพื่อเรียนรู้ว่า มันคืออะไร? มันทำงานอย่างไร? และคุณจะได้รับประโยชน์จากสิ่งนี้ และนำไปประยุกต์ใช้งานได้

TIME OF fLIGHT คืออะไร

       หลักการ Time of Flight  เป็นเทคนิคในการวัดระยะห่างระหว่าง วัตถุ กับ เซ็นเซอร์ ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของเวลาระหว่าง การสร้างสัญญาณ กับ การเคลื่อนกลับมาที่เซ็นเซอร์  หลังจากที่ถูกสะท้อนโดยวัตถุ สัญญาณหลายชนิด (หรือที่รู้จักในชื่อพาหะ) สามารถใช้กับหลักการ ToF ได้ ซึ่งสัญญาณที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดคือ แสง และ เสียง เช่น การใช้เทคนิค Time of Flight กับ โฟโต้อิเล็กทริคเซ็นเซอร์ โดยแหล่งกำเนิดแสงจะทำการปล่อยแสงยิงไปยังวัตถุที่ต้องการตรวจจับ และสะท้อนกลับมายังภาครับแสง หลังจากนั้นจะทำการคำนวณเพื่อหาระยะทางระหว่างเซนเซอร์กับวัตถุ โดยนำความเร็วของแสงที่ทราบค่าอยู่แล้วนั้น พร้อมกับเวลาตั้งแต่ปล่อยแสงจากแหล่งกำเนิดแสง และสะท้อนกลับมายังภาครับ มาคำนวณทำให้เราทราบระยะทางระหว่าง เซ็นเซอร์ กับ วัตถุ ได้อย่างแม่นยำ เพียงเท่านี้โฟโต้อิเล็กทริคเซนเซอร์ที่ใช้เทคนิคการวัดแบบ Time of Flight ก็สามารถตรวจจับวัตถุที่ต้องการได้

เทคโนโลยี Time of flight
ข้อดีการใช้ โฟโต้อิเล็กทริคเซนเซอร์แบบ Tof
  • ตรวจจับได้ระยะไกลกว่า ด้วยหลักการการตรวจับด้วยวิธี Time of Flight นั้นส่งผลให้สามารถตรวจจับได้ระยะที่ไกลกว่า เนื่องจากใช้การคำนวนเพื่อหาระยะทางการเคลื่อนที่ของแสงเพื่อตรวจจับวัตถุ ซึ่งต่างจากโฟโต้อิเล็กทริคเซ็นซอร์แบบทั่วไป ที่ตรวจจับโดยคำนวณปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมา 
  • ตรวจจับได้แม่นยำ และเสถียรกว่า  เนื่องจากไม่ได้ใช้ปริมาณแสงสะท้อนในการตรวจจับเหมือนโฟโต้เซ็นเซอร์ทั่วไป จึงทำให้สีของวัตถุไม่ส่งผลต่อการตรวจจับ ช่วยให้สามารถตรวจจับตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ
  • ข้อสังเกตของการใช้ เซ็นเซอร์แบบ Time of Flight คือราคาสูงกว่าเซ็นเซอร์ทั่วไป
Scroll to Top